SCREWDRIVER ไขควง

32642 จำนวนผู้เข้าชม  | 

SCREWDRIVER ไขควง

รู้จักส่วนประกอบและชนิดไขควง


ไขควง (Screwdriver) เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานในการขันน็อตและสกรู แบ่งออกเป็นส่วนๆ 

ด้ามไขควง โดยทั่วไปจะผลิตจากวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ อาจเป็นไม้พลาสติก ยาง ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้เหมาะกับการใช้งาน และรูปทรงที่ดีต้องจับได้ถนัดมือ
ก้านไขควง ผลิตจากวัสดุเหล็กกล้ามีทั้งลักษณะเป็นแกนกลม เหมาะสำหรับงานเบา และแกนเหลี่ยม ซึ่งเหมาะสำหรับงานหนัก สามารถใช้ประแจหรือคีมช่วยจับเพื่อเพิ่มแรงบิดได้ด้วย
ปากไขควง หรือส่วนปลายสุดของก้านไขควงที่ผ่านการตีขึ้นรูปและชุบแข็งด้วยความร้อน ซึ่งคุณภาพจะแตกต่างกันไปตามมาตรฐานการผลิตของแต่ละยี่ห้อ และมีรูปแบบหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน


โดยเราสามารถแบ่งชนิดของปากไขควงที่พบเห็นและคุ้ยเคยกันได้ ดังนี้

ไขควงปากแบน (Flat Screwdriver)
FLARED TIP : ไขควงปากแบนที่ส่วนปลายจะแผ่บานออกจากแนวก้านไขควงเล็กน้อย
PARALLEL TIP : ไขควงปากแบนที่ส่วนปลายจะตรงขนานเป็นเส้นเดียวกับก้านไขควงนั่นเอง

ไขควงปากแฉก (Cross - Reset Head Screwdriver)
ลักษณะหัวเป็น 4 แฉก “ + ” โดยแบ่งแยกย่อยเป็น 5 รูปแบบตามผู้คิดค้นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้

PHILLIPS : ปากสี่แฉกมาตรฐาน ตรงจุดตัดของร่องแฉกมีความโค้งมน ป้องกันการใช้แรงบิดสูงเกินไป
FREARSON : ปากสี่แฉกที่บริเวณจุดตัดของร่องแฉกจะมีความมนน้อยกว่าแบบ PHILLIPS


JIS - JAPANESE INDUSTRY STANDARD : ปากสี่แฉกมาตรฐานญี่ปุ่น ออกแบบให้ไม่หลุดออกจากสกรูแม้จะไขด้วยค่าแรงบิดสูง
SUPADRIV & POZIDRIV : ปากสี่แฉกไม่โค้งมน ลดการลื่นหลุดออกจากหัวสกรู ทั้งยังมีขีดเฉียง 45 องศา ระหว่างร่องกากบาท เพื่อเพิ่มแรงบิดและยึดติดกับหัวสกรูได้ดียิ่งขึ้น โดยซูปาไดฟมี 2 ขีด ส่วนโปซิไดฟมี 4 ขีด

ไขควงปากท็อกซ์ / ไขควงหกเหลี่ยม (TX-TORX / Hexagon Screwdriver)
TORX : ไขควงปากหกแฉก (ดาว) นิยมใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์
HEXAGON : ไขควงปากหกเหลี่ยม คุณสมบัติคล้ายการขันด้วยประแจหกเหลี่ยม

ไขควงหัวคลัตช์ (Clutch Head Screwdriver)
ไขควงสำหรับตะปูควงหรือสกรูงานโลหะแผ่น และงานตกแต่งที่ต้องการความประณีตสวยงาม

ไขควงออฟเซ็ต (Offset Screwdriver)
ไขควงที่เหมาะกับการใช้งานในที่แคบ สามารถขันสกรูได้เร็ว แต่อาจหลุดจากหัวสกรูได้ง่าย


 

การใช้งานและดูแลรักษาเบื้องต้น

  • ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัด ค้อน หรือสิ่ว
  • ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน เพราะอาจเกิดการพลั้งพลาดกระแทกมือได้
  • ควรเลือกใช้ไขควงที่มีลักษณะปากตรงกับชนิดของหัวสกรู
  • การใช้ไขควงควรจับที่ด้ามของไขควง ไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู
  • ควรซ่อมไขควงทันทีเมื่อพบว่าชำรุด
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด
  • เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

รวบรวมและเรียบเรียงโดย ทีมงาน TPQ TOOLS

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้